พนักงานไม่ตั้งใจทำงาน ก็ต้องสร้างแรงจูงใจ กันสักหน่อย
เจ้าของบริษัท เจ้านาย หัวหน้าทีม คงต้องปวดหัวแน่ๆ ถ้าเกิดว่า พนักงานไม่ตั้งใจทำงาน ทำงานอืดอาด รวมไปถึงผลงานที่ออกมาไม่ได้ประสิทธิภาพเหมือนเดิม จริงอยู่ที่ว่าการทำงานก็มีทั้งช่วงท็อปฟอร์ม และเนิบๆ แต่ถ้าเนิบติดกันนานๆ ก็ต้องดูว่า การทำงานเป็นทีม บกพร่องตรงไหนบ้าง ถ้าอย่างนั้น คงต้องหาแรงกระตุ้น แรงจูงใจในการทำงาน ให้พนักงานในองค์กรกันหน่อยแล้วล่ะ ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ต่อไป คงจะไม่ดีแน่ๆ
ทำไม แรงจูงใจในการทำงาน หายไป มีเหตุผลอะไรที่เกิดขึ้น
แรงจูงใจในการทำงาน มันมีประโยชน์มากต่อองค์กรและพนักงานเอง เพราะนี่คือสิ่งที่จะทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น งานย่อมเกิดจาก ความคิดสร้างสรรค์ ถ้าแรงจูงใจในการทำงานหายไป ความคิดสร้างสรรค์ หรือผลงานที่ดีก็จะหายตามกันไปด้วย แล้วถ้าอยู่มาวันหนึ่ง พนักงานในองค์กร เกิดอาการขี้เกียจ ไม่ใส่ใจงานที่ทำงาน ก็ต้องมาดูกันว่า เหตุผลอะไรที่ทำให้ พนักงานไม่ตั้งใจทำงาน
ขาดอิสระภาพในการทำงาน ตีกรอบจนเกินไป
อิสระในการทำงาน มาพร้อมกับ ความคิดสร้างสรรค์ อยู่แล้ว เพราะไม่มีใครมาคอยตีกรอบความคิดอันโลดแล่นได้ ปัญหานี้มักพบเจอบ่อยๆ ในการทำงานที่มีเจ้านายไม่ค่อยยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น ความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ เจ้ากี้เจ้าการในทุกกระบวนการทำงาน นี่แหละ สาเหตุที่ทำให้พนักงาน หมดแรงจูงใจในการทำงาน พนักงานไม่ตั้งใจทำงาน เข้าใจอยู่ว่าอยากให้งานออกมาดี แต่ลองให้อิสระในการทำงานแก่พนักงานในองค์กรดูบ้าง พวกเขาจะได้ไม่รู้สึกกดดันเวลาทำงาน
การเมืองภายในทีม ไม่มีความยุติธรรม
การระดมความคิด (Brainstorm) เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นในองค์กร เพื่อเสนอความคิดเห็นที่ทุกคนเห็นว่าดี แล้วมาสรุปว่าควรจัดการกับงานอย่างไรให้ผ่านพ้นไปด้วยดี แต่บางทีก็มีการเลือกข้างกันภายในทีม เลือกที่รักมักที่ชัง ทำให้ผิดใจกันเองก็มีเหมือนกัน เรียกได้ว่าเป็นการกีดกันความคิดของอีกฝ่าย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลย ถ้าคนถูกกระทำรู้สึกตัวว่าจะอยู่ต่อทำไม อยู่ไปก็ไม่มีใครเห็นคุณค่า สู้ออกไปอยู่ที่อื่นที่ให้ความสำคัญกับทุกคนอย่างเท่าเทียมดีกว่า
ทรัพยากรในองค์กรไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ทรัพยากร หมายถึงว่า เงินทุน พนักงาน เวลา และเครื่องมือในการทำงาน ถ้ามีพร้อมต่อความต้องการก็ถือว่าดี เพราะสามารถให้พนักงานสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเต็มที่ ไอเดียสร้างสรรค์ก็ไหลมารัวๆ แต่ในบางบริษัท ไม่มีความพร้อมเรื่องทรัพยากรเลย ดังนั้น งานที่ทำจึงไม่มีประสิทธิภาพ แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานหมดไปจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่ พนักงานไม่ตั้งใจทำงาน มีทรัพยกรให้พร้อมไว้น่าจะดีกว่า
พนักงานไม่ตั้งใจทำงาน ต้อง สร้างแรงจูงใจ ก่อนจะสายเกินแก้
ตั้งใจทำงาน ไม่ว่าพนักงานคนไหนก็อยากจะเป็นกันทั้งนั้น แต่บางทีก็ติดด้วยเหตุผลอะไรหลายอย่าง เช่น รู้สึกว่าทำงานหนักอยู่คนเดียว หรือ ไม่มีใครรับฟังความคิดเห็น ฯลฯ เพื่อให้ทุกอย่างก่อนสายเกินแก้ เพื่อรักษาพนักงานเอาไว้ในองค์กร ควรสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานดังนี้
สนับสนุนในทุกกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อพนักงาน
จะว่าแบบนี้ก็คงไม่ผิดมากนัก ไม่มีพนักงานคนไหน หมดกำลังใจในการทำงาน หรือ พนักงานไม่ตั้งใจทำงาน แน่ๆ ถ้าเกิดว่า หัวหน้างาน เจ้านาย รู้จักที่จะสนับสนุนในทุกกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อพนักงาน ซึ่งองค์กรเองก็ได้ประโยชน์ไปด้วย กิจกรรมที่ว่านี้เกี่ยวกับทักษะการทำงาน เช่น
- เวิร์คชอปเกี่ยวกับสายงาน
- อบรมความรู้ให้ทันโลก
- อัพเดตเครื่องมือใหม่ๆ ที่ใช้ในการทำงาน
เมื่อพนักงานในองค์กรมีทักษะในการทำงานที่มากขึ้น ก็จะทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น องค์กรก็ได้ผลประโยชน์อีกต่อ รวมไปถึงพนักงานในองค์กรเองก็มีทักษะที่เก่งขึ้น เรียกได้ว่า เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติในการก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ที่ไม่ว่าใครก็อยากจะมีกันทั้งนั้น
มองเห็นคุณค่าของพนักงานทุกคน และให้ความเท่าเทียม
การมองเห็นคุณค่าบุคคลอื่น คือเรื่องที่ดีมากๆ และมองเห็นคุณค่าของงาน ก็เป็นเรื่องที่ดีมากเหมือนกัน คนบางคนมักถูกมองข้ามในเรื่องของคุณค่าอยู่เสมอ ยิ่งเป็นในเรื่องของงานยิ่งทำให้ หมดกำลังใจในการทำงาน แรงจูงใจในการทำงานหายไป เลยพาลให้ พนักงานไม่ตั้งใจทำงาน อีกด้วย
ทุกคนย่อมตั้งใจทำงาน ให้งานออกมาดีอยู่แล้ว เมื่อถูกมองคุณค่าของงานก็ต้องเสียความรู้สึกเป็นธรรมดา ลำดับต่อไปก็คงจะเป็น การหมดใจในการทำงาน หมดไฟในการทำงาน และ ลาออกจากงาน ไปในที่สุด เหตุการณ์แบบนี้ไม่ดีอยู่แล้ว เจ้านาย หัวหน้างาน หัวหน้าทีม ควรมองเห็นคุณค่าของพนักงานด้วย
หมายถึงว่า เวลามีการระดมความคิดในเรื่องของงาน ควรที่จะใส่ใจความคิดทุกคนอย่างเท่าเทียม ไม่มองข้ามความคิดเห็นเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในที่ประชุม แม้กระทั่งเสียงเล็กๆ ที่แสดงความคิดเห็นออกมานั่นก็ด้วย เพราะถ้าไม่ฟังเลย เอาความคิดเป็นใหญ่ หรือเลือกที่รักมักที่ชัง สนับสนุนแต่พนักงานที่สนิทสนมด้วยอย่างออกนอกหน้า สุดท้ายแล้ว พนักงานคนอื่นๆ ก็จะถูกมองว่าไร้ตัวตน ความคิดเห็นไม่มีคุณค่า
เชื่อมความสัมพันธ์กับพนักงานด้วยการกินข้าว
การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมที่พนักงานในองค์กรทำร่วมกัน ก็จะทำให้พวกเขารู้สึกได้ว่า เจ้านาย หัวหน้าทีม หัวหน้างาน เข้าถึงง่าย ครั้งต่อๆ ไปก็จะรู้สึกสบายใจมากขึ้น ไม่เกร็ง ไม่มีบรรยากาศมาคุระหว่างการสนทนา อีกทั้งเจ้านายเองก็จะได้พูดคุยเรื่องอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานกับพวกเขา
อาหารกลางวัน เลยเป็นโอกาสดีที่สุดที่จะทำให้ ทุกคนในทีม รวมไปถึง เจ้านาย ได้มามีเวลาร่วมกัน จริงอยู่ที่ว่า อาจจะนัดกันหลังเลิกงาน แต่ละคนก็มีธุระของตัวเอง หรือนัดเสาร์-อาทิตย์ ก็จะดูรบวกวนเวลาของกันและกันมากไปหน่อย อาหารกลางวัน จึงเป็นตัวเชื่อมสัมพันธ์กับพนักงานที่ดีที่สุด แถมยังไม่เสียเวลางานอีกด้วย
แรงจูงใจในการทำงาน มีได้ก็สามารถหายไปได้เหมือนกัน ดังนั้น การสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน เป็นสิ่งที่เจ้านาย หัวหน้างาน ต้องให้ความสำคัญมากๆ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะลาออกจากงาน เมื่อรู้สึกหมดไฟในการทำงานก็ตาม แต่จะดีกว่ามากหากรักษาพนักงานทุกคนเอาไว้ในองค์กร ดีกว่าต้องหา พนักงานใหม่ อยู่แล้ว
Kinkhao (Thailand) Co.,Ltd. (Head Office)
790/19, 1st Floor, No.19,
Soi Sukhumvit 55 (Thonglor) Klongtan Nuea, Wattana, Bangkok 10110
Tax ID: 0105559120641
Customers Service: 083-702-4988