4 กลยุทธ์ ป้องกันไม่ให้ พนักงาน ลาออกจากงาน

Oct 3, 2019

ลาออกจากงาน เป็นเรื่องที่พบเจอได้บ่อยมากในทุกบริษัท ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็จะมาจาก เรื่องงาน เงิน หรือไม่ก็คน ทำให้ฝั่งฝ่ายบุคคลก็ปวดหัวไม่ใช่น้อย ไหนจะต้องพูดคุยให้เข้าใจตรงกันว่า สาเหตุที่ลาออกจากงาน มีอะไรบ้าง แล้วสามารถแก้ไขอะไรได้บ้าง ยิ่งถ้าพนักงานคนที่ลาออกไปเป็นคนที่เก่งกาจ มีความสามารถอย่างช่ำชอง องค์กรต้องเสียดายเป็นแน่ๆ

เงิน งาน และคน 3 สาเหตุหลักที่เป็นแรงกระตุ้นให้ ลาออกจากงาน

ทั้ง 3 อย่างที่กล่าวมาข้างต้น คือปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิด การลาออก ได้ดีที่สุด ซึ่งแต่ละปัจจัยก็มีความรุนแรงพอๆ กัน ถ้าคนที่กำลังตัดสินใจลาออกจากงาน อยู่ในช่วงลังเล แล้วดันเจอสักหนึ่งปัญหาที่กล่าวไปข้างต้น รับรองเลยว่า คงตัดสินใจได้ในทันทีว่าจะ ลาออกจากงาน แน่ๆ

เงินเดือนที่ได้น้อยกว่างานที่ได้รับหมอบหมายเลยรู้สึกถูกเอาเปรียบ

บางคนก็ได้รับมอบหมายงานที่เกินหน้าที่ตัวเองไปมาก จริงอยู่ที่ว่า ถ้าอยากให้บริษัทพัฒนาไปได้ไกล พนักงานทุกคนที่เป็นฟันเฟืองก็ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ ดังนั้น ไม่เกี่ยงงานก็ถูกต้องอยู่แล้ว แต่ถ้างานเพิ่มขึ้น แต่เงินเท่าเดิม แบบนี้ไม่แฟร์อย่างยิ่ง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่รู้สึกว่ากำลังถูกเอาเปรียบ ลาออกจากงาน เลยเป็นทางออก

งานล้นมือ (Overload) จนรู้สึกว่า แบกทีมไว้คนเดียว ไม่มีใครแบ่งเบา

การทำงานหลายๆ อย่างให้เสร็จได้ทันเวลา นับว่าเป็นเรื่องดีมาก แต่ในบางกรณี งานที่เยอะจนล้นมือ ก็สามารถทำให้งานอื่นๆ ล้มระเนระนาดได้เหมือนกัน แต่ถ้ามีข้อเสนอที่เพิ่มขึ้นเช่น งานเยอะขึ้น แล้วเงินก็เยอะขึ้นด้วย ก็ถือว่าแฟร์ (ว่ากันตรงๆ เงินเพิ่มขึ้น ก็คือ แรงจูงใจในการทำงาน) แต่มองในเรื่อง Work Life Balance คงไม่มีทางเกิดขึ้นง่ายๆ แน่นอน ดังนั้น พนักงานลาออก จึงเกิดขึ้นได้

Toxic Person บุคคลมลพิษ ที่ทำให้ ปัญหาสุขภาพจิต ตามมา

ปัญหาเรื่องคน คืออีกปัจจัยที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ ลาออก ได้เหมือนกัน ยิ่งเป็นบุคคลที่ขึ้นชื่อว่า Toxic Person ต้องทำให้ปัญหาสุขภาพจิตตามมา การทำงานแบบไม่มีทีมเวิร์คยังสามารถเชื่อมสัมพันธ์กันได้ แต่ถ้าเป็น Toxic Person ก็คงจะมีแต่คนหนีไกลๆ ชอบพ่นอะไรแย่ๆ ออกมาในแต่ละวัน  ดังนั้น การลาออกจากงาน เลยเป็นทางออกที่ดีที่สุดที่จะหนีปัญหานั้นได้

ลาออกจากงาน เหตุการณ์นี้ไม่เกิดขึ้นแน่ ถ้ามี 4 กลยุทธ์นี้

พนักงานลาออกบ่อย ลาออกจากงาน เป็นเรื่องปกติก็จริง แต่จะดีกว่าไหม ถ้าไม่มีพนักงานเข้าๆ ออกๆ อยู่เป็นประจำ เพราะย่อมส่งผลเสียให้กับองค์กรอยู่แล้ว นอกจากจะเสียเวลาต้องมาคอยสอนงานใหม่ ทางองค์กรก็จะวุ่นวายมากๆ เพราะต้องมาเขียน ประกาศสมัครงาน เพื่อรับสมัครพนักงานใหม่อีก ดังนั้น มาดู 4 กลยุทธ์นี้ดีกว่า

สวัสดิการพนักงาน ให้ผลประโยชน์แก่พนักงานดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

ถ้าทุกอย่างมีความเหมาะสม ก็จะทำให้พนักงานในองค์กรยังอยู่ในบริษัทต่อไป อย่างน้อยที่สุด องค์กรต้องมี สวัสดิการพนักงาน ขั้นพื้นฐานให้กับพนักงาน ที่จะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับพวกเขา ถ้าเป็นในเรื่องของการรักษาพยาบาลก็ เช่น

  • ประกันสังคม
  • ประกันทันตกรรม
  • ประกันสุขภาพกลุ่ม
  • ประกันอุบัติเหตุ

รวมไปถึงสวัสดิการพนักงานด้านอื่นๆ เหมือนกัน เช่น ค่าล่วงเวลา ค่ารถ ค่าน้ำมัน ยิ่งถ้าใครทำงานมาได้ครบเวลาที่กำหนดเอาไว้ ถึงคราวที่จะต้องให้โบนัส เจ้านายก็ไม่ควรตุกติกเหมือนกัน หรือ สวัสดิการ พนักงาน อีกหนึ่งประเภทที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมมากๆ คือ สวัสดิการอาหารกลางวัน ที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายมือกลางวันให้กับพนักงาน ไม่ต้องทนแดดทนร้อนต่อคิวให้เสียอารมณ์ อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์กับคนในทีมด้วย เพราะต้องกินข้าวด้วยกันนั่นเอง

กระชับความสัมพันธ์ สร้างทีมเวิร์ค ด้วยการพูดคุยกันให้มากขึ้นกว่าเดิม

การทำงานเป็นทีม จะทำให้งานนั้นสัมฤทธิ์ผลตามที่คาดหวังเอาไว้ แต่บางกรณีการทำงานเป็นทีมก็จะทุลักทุเลพอสมควร เนื่องจากคนในทีมไม่ค่อยได้พูดคุยกันสักเท่าไหร่ ถ้าไม่พูดกันเรื่องส่วนตัวว่าแย่แล้ว แต่ถ้าไม่พูดคุยกันเรื่องงานเลย ผลลัพธ์ของงานที่ออกมาจะต้องเละไม่เป็นท่าแน่ๆ

ระดมความคิด ในการทำงาน ก่อให้เกิดการพูดคุยกัน

Brainstorm คือการระดมความคิดในเรื่องของงาน ซึ่งก่อให้เกิดการพูดคุย ถกเถียงกันในเรื่องของงาน ดังนั้น ทีมเวิร์คที่ดีควรมีการระดมความติดกันด้วย แต่จะดีกว่ามากหาก หัวหน้าทีม ลงไปมีส่วนร่วมด้วย รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมช่วยกันแก้ไขให้ผ่านพ้นไปด้วยดี

อาหารกลางวัน ช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้คนในทีม

ในเรื่องของการกระชับความสัมพันธ์ เห็นที่จะมีอยู่หนทางเดียวที่จะประหยัดเวลาที่ดีที่สุดคือ อาหารกลางวัน ลองให้คนในทีมได้พูดคุยกันในเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เรื่องงานดูบ้าง อาจจะทำให้พวกเขาสนิทกันไวมากขึ้น รู้จักกันมากขึ้น แล้วการทำงานเป็นทีมก็จะก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงควรเปิดโอกาสให้คนในองค์กรได้ออกความเห็นในสิ่งที่พวกเขาคิดบ้าง นอกจากนั้น ก็หยิบข้อเสนอแนะนั้นมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ การที่รับฟังความคิดเห็นของพนักงาน ก็เหมือนกับเปิดใจ หากมีข้อนี้เป็นกลยุทธ์ พนักงานลาออกจากงาน จะเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะเขารับรู้แล้วว่า ความคิดเห็นมีคุณค่า

เปิดโอกาสที่ดีในการทำงาน พร้อมใส่ใจในคุณค่าของพนักงาน

การที่เห็นคุณค่าของพนักงาน ย่อมทำให้ผู้ได้รับดีใจอยู่แล้ว เพราะใครๆ ก็อยากมีค่าในสายตาของคนอื่น ยิ่งเป็นงานที่ทำด้วยความตั้งใจแล้ว หากใครมีฟีดแบ็กส่งกลับไป คนทำงานก็ต้องดีใจเป็นเรื่องธรรมดา อีกทั้งถ้าทางองค์กรเปิดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้สิ่งอื่นๆ มากขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตัวพนักงาน รวมไปถึงองค์กรก็จะได้พนักงานที่เก่งขึ้นนั่นเอง

จัด เวิร์คช็อป ศึกษาดูงาน อบรม เพื่อเพิ่มสกิลในการทำงาน

พนักงานลาออกจากงาน จะหมดไปในทันที เมื่อถ้าพวกเขาได้ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับงานของตัวเอง เช่น เวิร์คช็อปเกี่ยวกับการทำ SEO , ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพราะสิ่งเหล่านี้ สามารถนำมาใช้กับงานได้จริงๆ รวมไปถึง ยังเป็นประโยชน์กับองค์กรอีกด้วย 

ให้รางวัลแก่คนที่ทำงานดี เชิดชูคุณค่าในหน้าที่การงานของพวกเขา

บางตำแหน่งในบริษัทก็เป็นตำแหน่งที่เหมือนจะไม่ค่อยได้ทำอะไร แต่นี่คือฟันเฟืองที่คอยขับเคลื่อนให้บริษัทประสบความสำเร็จกว่าที่เคย บางตำแหน่งก็เหมือนถูกลืม แต่ทั้งที่จริงแล้วก็ทำหน้าที่ได้ดีและตั้งใจทำงานหนักเหมือนกัน ดังนั้น ใครทำงานดี ก็ต้องชม ชมให้คนอื่นได้รับรู้ ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ในฐานะพนักงาน คือเรื่องภูมิใจที่ยิ่งใหญ่

ดู ความสามารถ ไม่พอ ต้องดู ทัศนคติ ที่มีต่องานที่ทำด้วย

ก่อนจะเริ่มรับคนใหม่เข้ามาทำงานด้วย หลังจากที่สัมภาษณ์ไปแล้ว ก็ต้องมาดูกันว่า ผู้สัมภาษณ์งาน (Candidate) คนนั้นมีไลฟ์สไตล์ยังไง แต่จริงๆ เรื่องไลฟ์สไตล์ก็แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นแหละ ที่ต้องดูควบคู่และดูให้มากกว่าคือ ความสามารถ ว่ามีทักษะที่เพียงพอต่อเงื่อนไขที่ตั้งเอาไว้แล้วหรือยัง เพราะจะได้ไม่เป็นปัญหาเมื่อต้องพบกับงานจริงๆ

นอกจากนั้น ทัศนคติ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ควรเลือกคนที่มีทัศนคติที่ดี และไปในทิศทางเดียวกับบริษัท หรือทัศนคติที่มีต่องานที่กำลังทำ และองค์ประกอบอื่นๆ ด้วยว่าจะสามารถเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้หรือไม่ เพราะไม่อย่างนั้นแล้วก็จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้เหมือนกัน นั่นก็คือ เมื่อไม่สามารถเข้ากับใครได้เลย พยายามจูนก็แล้วก็ยังไม่ได้ สุดท้ายก็คือ ลาออกจากงาน อยู่ดี

อย่างที่บอกไปว่า ลาออกจากงาน เป็นเรื่องปกติ แต่จะดีกว่ามากหากไม่มีคนลาออกจากงานบ่อยๆ เพราะงานหนักก็จะตกอยู่ที่ฝ่ายบุคคลและตัวบริษัทด้วยเหมือกัน ดังนั้น หากมีกลยุทธ์ทั้ง 4 นำไปปรับใช้ก็น่าจะป้องกันไม่ให้พนักงานลาออกจากงานบ่อยๆ ได้ แถมยังปรับใช้ได้ทั้ง พนักงานเก่า และ พนักงานใหม่ อีกด้วย

Kinkhao (Thailand) Co., LTD.

Kinkhao (Thailand) Co.,Ltd. (Head Office)
790/19, 1st Floor, No.19,
Soi Sukhumvit 55 (Thonglor) Klongtan Nuea, Wattana, Bangkok 10110
Tax ID: 0105559120641

Chat with us: www.fb.com/kinkao.co
Sales: 089-779-8168
Customers Service: 083-702-4988
    Learn More
    About
    Our Services
    Menu
    Blog
    Close Bitnami banner
    Bitnami