ลูกน้องทะเลาะกัน จะแก้ปัญหาอย่างไรไม่ให้รู้สึกว่าลำเอียง

Oct 24, 2019

ในเรื่องของการทำงานมันต้องมีกระทบกระทั่งกันบ้าง เพราะต้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางการแก้ไข เมื่อความคิดเห็นไม่ตรงกันก็ต้องมีการถกเถียงด้วยเหตุผล และหาข้อสรุปที่ลงตัว หลังจากปรึกษากันเสร็จ ออกจากห้องประชุมมา ก็คุยกันปกติเหมือนเดิม นี่คือตัวอย่างที่ดีของการแยกเรื่องงานและส่วนตัวออกจากกัน

แต่บางคนก็แยกแยะเรื่องส่วนตัวกับงานเป็นนะ แต่ไม่ยอมทำ จากที่โมโหที่อีกฝั่งพูดไม่ถูกใจอยู่แล้ว ก็ใช้โอกาสตรงนี้ ใส่ความไม่ชอบใจปะปนกันไป สุดท้ายแล้วก็ไม่ได้งาน หรือได้งาน แต่อีกฝั่งเสียความรู้สึกมากๆ ดังนั้น ความขัดแย้งในองค์กร ลูกน้องทะเลากัน แบบนี้ ต้องไม่ดีแน่ ถึงคราวที่ หัวหน้างาน ต้องหาวิธีแก้ไขแล้วล่ะ

ความขัดแย้งในองค์กร ลูกน้องทะเลาะกัน แก้ปัญหาอย่างไรดี

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ต้องคุยกันเจอกัน  และสถานที่ทำงานเป็นสังคมที่ใหญ่ขึ้น หมายถึง ต้องมีคนหลายประเภทมารวมตัวอยู่ในที่เดียวกัน เลยไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าจะเกิดความบาดหมางระหว่างคนในทีม หรือบาดหมางกับทีมอื่นๆ ถ้าเป็นการทะเลาะกันเรื่องของงานก็ไม่ค่อยน่าห่วงเท่าไหร่ เพราะว่าคนหมู่มาก ประเด็นทีบาดหมางกันคือ

  • ความต่างระหว่างอายุ ความอาวุโสในการทำงาน
  • ความคิดเห็นที่แตกต่างกันของแต่ละคน
  • รูปแบบในการทำงานที่ไม่เหมือนกัน

และด้วยความเป็น หัวหน้างาน เจ้านาย หัวหน้าทีม จะตัดสินแบบฉับพลันทันใดก็จะดูไม่เข้าทีสักเท่าไหร่ เพราะความผิดถูกต้องตั้งอยู่ในความยุติธรรมด้วย ลูกน้องทะเลาะกัน ความขัดแย้งในองค์กรเกิดขึ้น ต้องแก้ปัญหา เพราะส่งลผลต่อ ประสิทธิภาพในการทำงาน ของคนอื่นๆ ในทีมด้วย และวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นคือตัวอย่างต่อไปนี้

ความขัดแย้งในองค์กร ลูกน้องทะเลาะกัน เอาความใจเย็นเข้าสู้

ถ้ารู้ว่าปัญหาของความขัดแย้งในองค์กร คืออะไร ก็จะได้แก้ไขอย่างตรงจุด ก่อนอื่นต้องรับฟังทุกฝั่งอย่างใจเย็น คนที่กำลังโมโหหัวร้อน ต้องอยากระบายความรู้สึกอยู่แล้ว เมื่อหัวหน้ารับฟังบ้าง อย่างน้อยๆ ก็จะทำให้คนที่หัวร้อนโมโหอยู่ ใจเย็นลงได้บ้าง ซึ่งหัวหน้าก็จะได้เข้าใจทุกคนได้มากขึ้น

แต่ถ้ากำลังมีความโมโห แล้วไปสุมไฟใส่ก็จะกลายเป็นว่าความโกรธปะทุขึ้นหนักกว่าเดิม เอาน้ำดับไฟ ใช้วิธีน้ำเย็นเข้าลูบ ก็จะทำให้คนที่กำลังโกรธผ่อนคลายลงได้ เมื่อต่างฝ่ายต่างเย็น และคนกลางก็ “ใจเย็น” อยู่แล้ว ค่อยจับทั้งคู่มานั่งคุยกัน หรือ คุยทีล่ะคนก็ได้ ว่ามันเกิดอะไรขึ้น ถึงทำให้เกิดเหตุการณ์ ความขัดแย้งในองค์กร

ซึ่งการเรียกคุย ทุกคนน่าจะรู้กันดีอยู่แล้วว่า ไม่ควรทำให้คนอื่นอับอาย (รวมไปถึงกรณีที่จะติเตียนเรื่องงานด้วย) ควรเรียกคุยกันแบบส่วนตัวจะดีกว่า เพราะถ้าคุยกันในที่สาธารณะก็ไม่ต่างอะไรกับการประจานให้คนอื่นรับรู้ว่า ทั้งคู่มีปัญหาอะไรกัน หรือคนอื่นๆ ก็จะรู้ว่า ทีมนี้ ลูกน้องทะเลาะกัน นั่นเอง

ลูกน้องทะเลาะกัน ก็ต้องหาสาเหตุที่แท้จริง พร้อมหาวิธีแก้ปัญหา

ตอนที่รับฟังความคิดเห็นของทั้งสองฝ่าย ไม่มีทางรู้เลยว่าใครพูดโกหก ใครพูดจริง ต่างก็มีความโกรธผสมลงไปในคำพูด ดังนั้น หัวหน้าหรือเจ้านายที่เป็นคนกลาง ก็ต้องค้นหาความจริงที่จริงที่สุดว่า มันเกิดอะไรขึ้น ซึ่งก็คือการถามความจริง หรือเหตุการณ์ตอนนั้นกับ “พยาน”

พยานในที่นี้ก็ไม่ใช่ใคร เพื่อนของทั้งสองฝ่าย หรือบุคคลอื่นๆ ที่เห็นการปะทะกันอย่างดุเดือนของคนทั้งคู่ พร้อมหาสาเหตุที่จริงว่าเกิดจากอะไร เรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัวกันแน่ เพราะถ้าเป็นเรื่องงานก็จะได้แก้ไขที่โครงสร้างของงานให้ดีขึ้น ส่วนเรื่องส่วนตัวคงต้องจับเข่าคุยแบบจริงจัง

และการแก้ปัญหาในเรื่องของงาน ต้องไม่ให้เกิดผลกระทบกับงานด้วย เพราะในขณะที่ทะเลาะกันอย่างดุเดือด งานที่ทำก็ยังดำเนินต่อ ไม่ได้หยุด ดังนั้น รีบหาสาเหตุให้เจอว่าเกิดจากอะไร แล้วรีบแก้ปัญหาให้ได้ไว้ที่สุด เพื่อไม่ให้ สภาพแวดล้อมการทำงานแย่ๆ เพราะจะทำให้ ประสิทธิภาพในการทำงาน ของคนอื่นลดลง

ขอใช้ตัวช่วย ปรึกษาฝ่ายบุคคล หรือ HR เพื่อแก้ไขปัญหา

อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า เมื่อรับฟังความคิดเห็นของทั้งสองฝั่งอย่างเป็นกลาง และคิดวิธีแก้ไขปัญหาได้แล้ว ก็ลองปรึกษา ฝ่ายบุคคล ด้วยว่า วิธีแก้ไขปัญหาที่คิดเอาไว้ อยู่ในครรลองครองธรรม หรือ กฎระเบียบที่บริษัทตั้งเอาไว้หรือเปล่า ไม่เช่นนั้น ทั้งสองฝ่ายที่มีปัญหากัน เพราะคำตัดสินไม่เท่าเทียม คนกลางอย่างหัวหน้าหรือเจ้านาย ก็จะถูกมองว่าตัดสินอย่าลำเอียงได้เหมือนกัน

เหตุการณ์แบบนี้สามารถพบเห็นได้บ่อยๆ กับการเลือกที่รักมักที่ชัง ทรีตคนในทีมไม่เท่ากัน สนิทกับใครมากกว่า ก็ให้อภิสิทธิ์กับคนนั้นมากกว่า โดยปกติแล้ว การทะเลาะกันมันทำให้เกิดความอึดอัด ทั้งหัวหน้าเอง เพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ก็ได้รับความอึดอัดนี้ด้วย ถ้าตัดสินไม่เท่าเทียม ตัดสินด้วยความลำเอียง ปัญหาไม่จบแน่นอน แค่คิดก็ปวดหัวน่าดู

ออกกฎใหม่ป้องกัน ความขัดแย้งในองค์กร อย่างเช่น ลูกน้องทะเลาะกัน

เมื่อค้นพบ วิธีแก้ปัญหา ลูกน้องทะเลาะกัน ได้เรียบร้อยแล้ว ขั้นลงมือแก้ปัญหา หัวหน้าหรือเจ้านาย ก็ควรมามีส่วนร่วมด้วย (ถึงแม้จะไม่ได้เป็นต้นเหตุก็เถอะ)  หรือ ถ้าอยากได้วิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่า ลองชวนคนในทีมแต่ละคน มาเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และอาจจะเกิดขึ้นในครั้งหน้า ก็ได้เหมือนกัน เช่น

นี่เรียกได้ว่า เป็นความใส่ใจที่เจ้านายมีแก่ลูกน้องนั่นเอง หลังจากนั้น ทุกคนก็จะได้ทำตามกฎระเบียบใหม่ที่ตั้งเอาไว้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่ว่านั้นอีก จริงๆ ก็ควรจะสานสัมพันธ์กันบ่อยๆ กินข้าวด้วยกัน อาหารกลางวัน หรือ อาหารเย็น ช่วงเวลาเหล่านี้จะทำให้ทุกคนในองค์กรค่อยๆ สนิทกันมากขึ้น

Kinkhao (Thailand) Co., LTD.

Kinkhao (Thailand) Co.,Ltd. (Head Office)
790/19, 1st Floor, No.19,
Soi Sukhumvit 55 (Thonglor) Klongtan Nuea, Wattana, Bangkok 10110
Tax ID: 0105559120641

Chat with us: www.fb.com/kinkao.co
Sales: 089-779-8168
Customers Service: 083-702-4988
    Learn More
    About
    Our Services
    Menu
    Blog
    Close Bitnami banner
    Bitnami